วิธีเข้าเล่มไสกาว เข้าเล่มสันกาว ออกแบบปกเล่มไสกาว ระยะการเว้นข้อความเนื้อหา

หนังสือที่เราๆ ท่านๆอ่านกันโดยมากแล้ว จะเข้าเล่มหนังสือด้วยวิธีไสกาว หรือสันกาว เป็นวิธีเข้าเล่มที่นิยมทำกันจำนวนเล่มมากๆ เพราะหากเข้าเล่มไสกาวเป็นจำนวนมากแล้วจะมีราคาถูก สามารถเข้าเล่มได้รวดเร็วกว่าการเข้าเล่มแบบอื่นๆ อีกทั้งยังสวยงาม แข็งแรง การเข้าเล่มสันกาวต้องมีการทำปกเฉพาะของหนังสือเล่มนั้น ต้องตั้งค่าเครื่องเข้าเล่มสันกาว และตั้งเครื่องตัดขอบหนังสือ ซึ่งกระบวนการจะมีมากกว่า คือเสียเวลาในการเซทอัพหนังสือเล่มแรก เล่มต่อๆไปก็หมดปัญหาและรวดเร็วกว่า ต้องเตรียมไฟล์งานมากกว่า การทำเอกสารทั่วไป เช่น ปกที่ต้องคำนวณเรื่องขนาดสันหนังสือจากความหนาเนื่อหา การวางเนื่อหา และเลขหน้า เป็นต้น เช็คราคาเข้าเล่มสันกาว

หนังสือสันกาว

เริ่มต้นออกแบบปกหนังสือไสกาว

หนังสือไสกาวหรือสันกาว ขนาดA4 หมายถึงเนื่อหาของเรามีขนาดA4 รูปเล่มสำเร็จมีขนาดA4 ปกหนังสือจะมีขนาด = ปกหน้า+สันปก+ปกหลัง และเผื้อระยะตัดขอบด้วย โดยปกติไฟล์งานจะมีขนาดA3ไม่รวมสันปก สันปกจะมีขนาดประมาณ 0.11xจำนวนแผ่น สำหรับกระดาษ80แกรม หากความหนากระเปลี่ยนแปลง สันปกก็จะเปลี่ยนแปลงด้วย ดังนั้นต้องคำนวณใหม่ทุกครั้ง ควรเผื่นระยะตัดตกสำหรับขอบปกทั้ง4ด้าน 2mm ด้วยปกจะได้ไม่มีขอบขาวนะครับ โดยจะปริ้นปกหนังสือบนกระดาษแข็ง ขนาดA3+ เพื่อให้ปกครอบคลุมเนื่อหาA4ได้พอ แล้วตัดส่วนเกินออกอีกครั้ง ดังภาพสันปกด้านล่าง
ภาพสันปก

เว้นระยะเนื่อหา

การเข้าเล่มหนังสือไสกาวหรือสันกาว จะไม่เหมาะกับการเปิด180องศา เพราะจะทำให้อายุการใช้หนังสือสั้นลง ซึ่งหากมีข้อความอยู่ชิดสันหนังสือเกินไปจะทำให้อ่านได้ยาก ต้องถ่างหนังสือจนทำให้เสียรูปไป โดยปกติเนื่องหาจะเว้นระยะห่างด้านสันหนังสือสันกาว ไว้อย่างน้อย 2cm มากกว่านี้ก็ได้ครับ อ่านได้ง่ายดี ถือถนัดด้วย การวางเลขหน้า นิยมวางไว้ด้านตรงข้ามกับสันหน้งสือ ก็ไม่ควรอยู่ชิดขอบเกินไป จนทำให้ไม่สามารถตัดงานได้ และทำให้หนังสือดูเกิน รูปเล่มไม่สวยด้วยครับ ปกติเลขหน้าก็ควรอยู่ห่างจากขอบหนังสือไม่น้อยกว่า 1.5cm เพื่อความสวยงามของรูปเล่ม

เนื่อหา

วิธีเข้าเล่มไสกาว

เมื่อเราได้เนื่อหาหนังสือแล้ว และปกหนังสือแล้ว ก็ได้เวลาเข้าเล่มไสกาว โดยการเข้าเล่มแบบนี้ต้องอาศัยเครื่องเข้าเล่มเฉพาะ มีตั้งแต่ตัวเล็กๆ สามารถตั้งโต๊ะได้ จนถึงเครื่องเข้าเล่มสันกาวขนาดเท่าห้อง มีหลากหลายรุ่น หากเครื่องยิ่งใหญ่ก็จะเข้าเล่มได้สวย และรวดเร็วมากขึ้น  ขอแนะนำรุ่นยอดนิยมกันตามศูนย์ถ่ายเอกสาร

เครื่องรุ่นแรกใช้การตัดแผ่นกาวให้มีขนาดเท่าสันหนังสือ นำมาวางบนปกหนังสือ นำเนื่อหามาทับหนังสือไว้ แล้วนำไปเข้าเครื่องเข้าเล่ม เครื่องเข้าเล่มจะสร้างความร้อน มาทำให้กาวละลายติดกัน ระหว่างปกหนังสือ และเนื่อหาหนังสือ เครื่องแบบนี้จะใช้เวลาในการผลิตมาก เพราะต้องรอกาวภายในหนังสือละลายให้เข้ากับเนื่อหาก่อน หากกาวละลายไม่ดีก็จะทำสันปกได้ไม่ หลุดได้ง่าย

%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a7

เครื่องรุ่นที่สองจะมีหม้อต้มกาว โดยหลักการคือ เราจะใส่เนื่อหาหนังสือ แล้วเครื่องจะดึงเนื่อหาไปผ่านหม้อต้มกาว แล้วนำไปวางบนสัน พับสันให้เรียบร้อยเลย ใช้เวลาในการเข้าเล่มสันกาวไม่นาน แต่ก็ต้องปรับแต่เครื่องให้อยู่สภาพใช้งานได้กันก่อน แต่หากใช้งานได้เลยก็ใช้งานกันยาวๆเลย ในโพสนี้ขอพูดถึงเครื่องรุ่นที่สอง นะครับ

20161014_100310

เริ่มต้นที่จัดวางเนื่อหาหนังสือทางด้านซ้าย ตรงช่องรับเนื่อหา โดยตัวเครื่องจะอ้าแขนรับเนื่อหา แล้วกดบีบให้เครื่องบีบเนื่อหาให้แน่น ขั้นตอนต่อไปคือวางปกทางด้านขวา ต้องตั้งระยะปกให้ตรงกลางด้วยนะครับ ปกจะได้ไม่เบี้ยว ต้องกะระยะให้ดี เผื่อให้สันปกตรงกันพอดี เสร็จแล้วกดปุ่ม เดินเครื่องครับ เครื่องจะนำเนื่อหา ผ่านกาว แล้ววางบนปกหนังสือ รอจนกาวเซทตัว เราก็จะได้หนังสือสันกาวแล้ว

2016-11-02_23-34-51

เสร็จแล้วก็จะได้หนังสือเข้าเล่มไสกาว ดังภาพด้านล่าง ปล่อยให้สันกาวหนังสือเย็นก่อน แล้วค่อยนำไปตัดอีกครั้ง สังเกตุว่าหนังสือที่เข้าเล่มสันกาวแล้ว จะยังมีขอบปกสีขาว เกินออกมาจากหนังสืออยู่ ทั้งด้านบน ล่าง แล้วขอบนอก

2016-11-02_23-42-29

ตัดขอบหนังสือ

ขั้นตอนสุดท้ายคือตัดขอบขาวหนังสือ จากระยะขอบขาวหนังสือที่เราได้ออกแบบไว้ตั้งแต่แรกครับ หากใครไม่เผื่อระยะตัดไว้ ก็จะเห็นตอนนี้แหละครับ ว่าสามารถตัดหนังสือได้หรือไม่ ทั้งการออกแบบ การเข้าเล่มและตัด ก็ขึ้นกับประสพการณ์แล้วครับว่าใครจะทำได้เนียนกว่ากัน เครื่องเดียวกันก็ได้ความสวยงามต่างกันครับ หนังสือสันกาวนำเข้าเครื่องตัดดังภาพด้านล่างครับ

20161014_100554

เข้าเล่มไสกาวหรือสันกาว เสร็จแล้วครับ

เป็นภาพสำเร็จของหนังสือสันกาว หลังตัดขอบออกแล้ว สามารถเปิดใช้งานได้ทันทีครับ

20160510_160204_ok

สรุปวิธีเข้าเล่มไสกาว เข้าเล่มสันกาว

หนังสือส่วนใหญ่ที่คุณอ่านนิยมเข้าเล่มหนังสือโดยใช้วิธีเข้าเล่มสันกาว การเข้าเล่มสันกาวจะได้ หนังสือที่สวยงามและแข็งแกร่ง โดยหนังสือเข้าเล่มสันกาวจะมีกระบวนการออกแบบ ตั้งเครื่องเข้าเล่ม เครื่องตัด มีกระบวนการมากกว่าการเข้าเล่มแบบอื่น หากกระบวนการผิดพลาด ก็จำเป็นต้องทำใหม่ นั้นคือเหตุผลที่ตามร้าน ไม่ค่อยรับเข้าเล่มอย่างเดียว เพราะหากผิดพลาดต้องปริ้นเนื่อหาให้ใหม่ด้วย เริ่มการผลิตหนังสือ

ขอบคุณทุกท่านที่มาอุดหนุน สนใจสั่งผลิตเอกสาร ส่งไฟล์งานมาที่ Email : sale@paiprint.com

**สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่นี้  / phone : 090-828-2256, 098-656-2365 / Line : @Paiprint

You may also like...