ปกและเนื้อหา หนังสือสันกาว ต้องออกแบบอย่างไร

เป็นคำถามที่ถามกันบ่อยๆครับ ว่าการออกแบบปกและเนื้อหา สำหรับการทำหนังสือสันกาว ต้องออกแบบอย่างไร ให้สามารถนำไฟล์งานดังกล่าว มาผลิตเป็นหนังสือได้โดยไม่ต้องแก้ไข โพสนี้ก็เลยมาอธิบายกันอีกครั้งครับ โดยขอเริ่มจากกการทำความรู้จักหนังสือสันกาวกันก่อน ว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร

ใช่แล้วครับ หน้าตาก็เหมือนหนังสือทั่วไป โดยสันจะเรียบไปกับปกเลย โดยใช้กาวในการยึด เล่มกระดาษเข้าด้วยกันครับ ทีนี้เรามาเข้าเรื่องการออกแบบปกและเนื้อหากันต่อ ต้องการผลิตหนังสือกดที่นี้

วิธีการออกแบบปก จะประกอบด้วย ปกด้านหน้า สันปก และปกด้านหลัง โดยจะออกแบบแยกไฟล์งานกับเนื่อหาหรือรวมกับเนื่อหาก็ได้ครับ สามารถนำไปผลิตได้ทั้งหมด โดยการรวมปกกับเนื่อหา สามารถนำไปใช้ได้เลยทั้งอ่านและพรีเซน แต่หากตั้งใจจะผลิตเป็นหนังสืออย่างเดียว ก็ให้แยกปกกับเนื่อหา จะสดวกกับการผลิตหนังสือมากกว่า ทำปกและสันปกได้แบบไม่งงด้วย

ส่วนสำคัญในการออกแบบคือ การเว้นระยะเข้าเล่มสันกาว เพื่อการใช้งานได้สดวก การวางตัวอักษรไว้ชิดขอบเกินไป นอกจากทำให้หนังสือดูไม่สวยงามแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่จะโดนตัดออกตอนเข้าเล่มสันกาวด้วย แต่หากเว้นมากไป ก็จะทำให้หนังสือดูไม่สวยงาม เราจึงได้ประมาณ ขอบที่ออกแบบหนังสือแล้วสวยๆ มาให้ชมกันด้านล่าง

ปกด้านหน้าและปกด้านหลัง ตัวหนังสือเมือเข้าเล่มสันกาวแล้วจะถูกตัดออกเล็กน้อย หรือที่เรียกว่าเจี้ยนขอบ ดังนั้นควรเว้นเนื่อหาให้ห่างจากขอบด้านละ 15mm เป็นอย่างน้อย ทั้งนี้เพื่อความสวยงามด้วย

สันปก โดยมากจะออกแบบไฟล์งานปกแยกออกจากเนื้อหา แต่หากไม่ได้ออกแบบสันปกก็ไม่เป็นไร ทางร้านก็สามารถผลิตหนังสือได้ โดยจะได้สันปกสีขาวนวล ดังภาพด้านบน แต่หากต้องการก็สามารถออกแบบสันปกได้ครับโดยขนาดสันปกจะขึ้นกับจำนวนแผ่น ยิ่งจำนวนแผ่นมาก กระดาษก็จะยิ่งหนา ทั้งนี้หากเราเลือกกระดาษแกรมหนา ก็จะเพิ่มความหนาขึ้นไปอีก ทางร้านจึงให้คำนวณโดยประมาณ สำหรับกระดาษ80แกรมทั่วไป ที่นิยมใช้กันคือ ความหนาสันปก(mm) = จำนวนแผ่น x 0.115

*ทั้งนี้ความหนาน้อยสุดที่ควรมีสันปกคือ 5mm เพราะตัวอักษรเล็กมากอ่านได้ยาก ไม่ควรใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่จนล้นขอบด้านบนล่าง ดูตัวอย่างหนังสือสันกาวที่นี้

วิธีการออกแบบเนื่อหา หลายๆครั้งที่ลูกค้าออกแบบเนื่อหามาชิดขอบ ทำให้เมื่อเข้าเล่มสันกาวแล้ว ตัวหนังสือชิดเข้าไปด้านในของสันปก ทำให้อ่านได้ยาก หรือต้องถ่างหนังสือ ออกมากๆเพื่ออ่านได้ อาจทำให้อายุการใช้งานหนังสือสั้งลงอย่างรวดเร็ว โดยทางร้านผลิต จะช่วยเช็ครวมๆให้ก่อนผลิต แต่บางไฟล์งาน ออกแบบเนื่อหาโดยมีกั้นหน้ากั้นหลังและบนล่างไม่เท่ากัน อาจเกิดจากหลายคนออกแบบ ทำให้การปรับแต่งก่อนผลิตเป็นเรื่องยาก หรือเป็นไปไม่ได้ เพราะหากปรับเนื่อหาส่วนหนึ่ง อีกส่วนก็จะไม่ได้สัดส่วน ผู้ออกแบบจึงควรตระหนัก เรื่องกั้นหน้าหลังและบนล่าง ให้เท่ากันด้วย

โดยปกติเนื่อหาภายในเล่มสำหรับการเข้าเล่มสันกาว ควรเว้นระยะห่างด้านที่ติดกับสันปก อย่างน้อย 25mm และด้านไม่ติดสันปก อย่างน้อย 15mm สังเกตุว่าควรเว้นระยะห่างด้านที่ติดกับสันปกให้มากกว่าเล็กน้อย เพื่อการใช้งานเปิดหนังสือได้สดวก แต่หากไม่สดวกที่จะเว้นต่างกัน การออกแบบระยะห่างทุกด้านเท่ากันอย่างน้อย 25mm ก็สามารถผลิตหนังสือได้สวยงาม

สรุป การออกแบบปกและเนื้อหา ของหนังสือสันกาว ไม่ได้ยากเลย เพียงต้องวางแผนตั้งระยะกั้นหน้าหลังและบนล่าง ให้เรียบร้อยก่อนออกแบบ หรือหากออกแบบไฟล์งานหลายคน ก็ควรตกลงกันเรื่องระยะห่างระหว่างขอบ ให้เท่ากันก่อนออกแบบไฟล์งาน เพื่อให้หนังสือที่ได้ มีความสวยงามและทนทาน ต่อในการใช้งาน อ่านเนื่อหาการทำหนังสือสันกาวเพิ่มเติมได้ที่นี้

แต่หากสงสัยการออกแบบปกและเนื้อหา ของหนังสือสันกาว ก็สอบถามกันได้นะครับ ผ่านช่องทางต่างๆที่นี้

You may also like...