การทำแคตตาล็อก สินค้าและบริการ ด้วยตัวเอง

การทำแคตตาล็อกสินค้า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ ในการรวบรวมข้อมูลสินค้า เพื่อการจัดหมวดหมู่และนำเสนอสินค้า
อยากทำแคตตาล็อกสินค้าและบริการ ไม่ใช้เรื่องยาก สามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยการทำแคตตาล็อก มีสองส่วน ส่วนแรกคือการสร้างไฟล์งาน และส่วนที่สองคือการผลิตแคตตาล็อก

1.การสร้างไฟล์งาน

แคตตาล็อกสินค้าและบริการ

แคตตาล็อกสินค้าและบริการ

รวบรวมข้อมูลสินค้าและบริการ หากมีข้อมูลสินค้าจำนวนมาก อาจแบ่งกลุ่มสินค้าและบริการ แบ่งการทำแคตตาล็อกออกเป็นกลุ่มๆ หากเรารวมสินค้าทุกประเภท ทั้งหมดไว้ในเล่มเดียวกัน ทำให้แคตตาล็อกมีจำนวนหน้ามาก จะทำให้ค่าผลิตแคตตาล็อกสูง สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งการใช้งานจริง อาจต้องการนำเสนอเพียงสินค้าเพี่ยงสินค้าเดี่ยว แต่ต้องเสียแคตตาล็อกทั้งเล่ม แต่หากแบ่งจำนวนกลุ่มมากเกินไป อาจจะทำให้จำนวนหน้าน้อยลง แต่จะมีสินค้าหลายกลุ่ม การผลิตจำนวนน้อย และหลายๆแบบ จะทำให้ค่าผลิตสูงตามไปด้วย ดังนั้นการกำหนดแบ่งกลุ่มสินค้า ให้มีประสิทธิภาพ จะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายได้มาก

โดยรายละเอียดสินค้าและบริการ ประกอบด้วย ชื่อและรายละเอียดพร้อมรูปภาพ รวมถึงการใช้งาน ซึ่งเป็นรายละเอียดที่จำเป็นต้องนำเสนอ ได้ใจความ ไม่มากจนทำให้แคตตาล็อกมีจำนวนหน้ามากเกินไป และไม่น้อยจนอ่านไม่ได้ใจความ รูปภาพมีความชัดเจน ความละเอียดไม่น้อยกว่า 300dpi โดยภาพพื้นหลังสินค้าควรเป็นสีขาว ไม่วางรูปสินค้าทับซ้อน บนภาพพื้นหลังที่เป็นลวดลาย เพราะจะทำให้รูปสินค้าไม่ชัดเจน ไม่โดดเด่น และการนำภาพไปวางบนไฟล์งาน ไม่สวยงามอีกด้วย

ข้อมูลที่นำเสนอควรเป็นข้อมูลที่สามารถใช้งานได้นาน ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ เนื่องจากการผลิตแคตตาล็อกจำเป็นต้องทำปริมาณมาก ถึงจะมีราคาถูก หากปรับเปลี่ยนบ่อยอาจทำให้มีต้นทุนมาก ดังนั้นในส่วนข้อมูลที่อาจมีการแก้ไขบ่อย อาจผลิตเป็นโบรชัวร์แนบแคตตาล็อกไปแทน จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก

โบรชัวร์แนบแคตตาล็อก

โบรชัวร์แนบแคตตาล็อก

การออกแบบไฟล์งาน ขนาดแคตตาล็อก ที่นิยมผลิตกันคือ แคตตาล็อกขนาดA4 หรือขนาดเท่าหนังสือทั่วไป โดยขนาดแคตตาล็อกและจำนวนหน้าของแคตตาล็อก จะเป็นตัวกำหนดราคา โดยจำนวนหน้าและขนาดจะขึ้นอยู่กับปริมาณเนื่อหาสินค้า หากมีจำนวนหน้ามาก ก็จะทำให้ราคาแคตตาล็อคมีราคาสูง ก็ต้องกลับมาดูที่งบประมาณที่มี ว่าสามารถผลิตได้ไหม หากงบประมาณไม่ครอบครุม ควรเลือกเฉพาะสินค้าเด่น เป็นที่สนใจของลูกค้า และแนบโบรชัวร์สินค้าย่อยเข้าไปได้ วิธีนี้ช่วยประหยัดต้นทุนแคตตาล็อกได้ดี

การเลือกโทนสีแคตตาล็อกให้เหมาะกับสินค้าและบริการ เช่นสินค้าบิวตี้ ควรเลือกโทนสีโดดเด่นสะดุดตา ทำให้ลูกค้ามีความต้องการในสิ่งนั้นๆเช่นสีแดง สีส้ม แต่หากเป็นสินค้าแนวสปา ก็ต้องเลือกโทนเย็น สีที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายเช่นสีน้ำตาลเข้ม การเลือกโทนสีเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากหลังจากเลือกโทนสีแล้ว แคตตาล็อกทั้งเล่มควรมีโทนสีใกล้เคียงกัน

เลือกโทนสีแคตตาล็อกใกล้เคียงกัน

เลือกโทนสีแคตตาล็อกใกล้เคียงกัน

เมื่อรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนแล้ว ก็สามารถเริ่มออกแบบแคตตาล็อก โดยเราสามารถใช้โปรแกรมพื้นฐานเช่น word หรือจะใช้โปรแกรมออกแบบโบรชัวร์โดยเฉพาะเช่น illustrator ในการออกแบบต้องคำนึงถึงระยะตัดตก จากขอบกระดาษ ไม่วางตัวอักษรและรูปสินค้า ไว้ใกล้ขอบกระดาษ มากเกินไป ระยะปลอดภัยควรวางข้อความไว้ห่างจากขอบประมาณ1cm ดูวิธีการเว้นระยะตัดตกเพิ่มเติมได้ที่นี้ ให้เซฟไฟล์งานเป็นไฟล์งาน pdf เพื่อสดวกให้การผลิตต่อไป

2.ขั้นตอนการผลิต

เครื่องปริ้นแคตตาล็อก

เครื่องปริ้นแคตตาล็อก

เมื่อเราออกแบบไฟล์งานแคตตาล็อกแล้ว ขั้นที่สองคือการผลิตแคตตาล็อก เป็นเล่มที่สามารถนำไปใช้งานได้ เราสามารถนำไฟล์งานที่ออกแบบแล้ว นำไปปริ้น โดยใช้เครื่องปริ้นเลเซอร์ หรือเครื่องปริ้นอิงเจท ควรเลือกกระดาษให้เหมาะสมกับเครื่องปริ้น เช่นเครื่องปริ้นอิงเจท ไม่สามารถปริ้นบนกระดาษอาร์มันได้ เนื่องจากหมึกน้ำไม่ติดกระดาษอาร์มัน เป็นต้น

ได้เอกสารจากเครื่องปริ้นแล้ว นำไปเข้าเล่ม อาจเป็นการเข้าเล่มแบบสันรูด ที่ไม่ต้องใช้เครื่องเข้าเล่ม ประหยัดสุดเพราะไม่ต้องซื้อเครื่องเข้าเล่ม ใช้งานง่ายเพียง ดันสันรูดเข้าที่สันขอบกระดาษจนสุด เท่านี้เรียบร้อย แต่หากต้องการเข้าเล่มแบบอื่นๆ ต้องมีเครื่องเข้าเล่มด้วยเช่น เข้าเล่มสันห่วงเหล็ก ต้องมีเครื่องเข้าเล่มสันห่วงเหล็ก เข้าเล่มสันห่วงพลาสติก ต้องมีเครื่องเข้าเล่มสันห่วงพลาสติก ซึ่งอาจทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่า ไปจ้างผลิต จึงจำเป็นต้องพิจารณาการผลิต

การเข้าเล่มสันห่วงพลาสติก

การเข้าเล่มสันห่วงพลาสติก

การจ้างผลิตแคตตาล็อก หากเราต้องการผลิตแคตตาล็อกจำนวนมาก ควรจ้างร้านที่รับผลิตแคตตาล็อกโดยตรง จะทำให้ราคาผลิตถูกลง และสวยงามมากขึ้น เช็คราคาผลิตได้ที่นี้

โดยผลิตแคตตาล็อกหลักๆ มีสองระบบคือระบบปริ้นและระบบออฟเซท โดยหากต้องการผลิตแคตตาล็อกไม่มากนักเช่น 1-200เล่ม จะนิยมใช้ระบบปริ้นเพราะสามารถทำได้รวดเร็ว และมีราคารวมถูกกว่าระบบออฟเซท แต่หากผลิตแคตตาล็อกมากกว่า500-1000เล่ม จะนิยมผลิตด้วยระบบออฟเซท จะทำให้ราคาแคตาล็อกต่อเล่มถูกลงมาก ซึ่งหากแคตตาล็อกนี้สามารถใช้ได้ยาวนานโดยไม่ต้องแก้ไข การผลิตจำนวนมากแล้วเก็บไว้ใช้ จะมีต้นทุนรวมถูกกว่าการผลิตบ่อยๆ ไม่ว่าจะผลิตด้วยระบบปริ้นหรือ ออฟเซทก็ตาม

แคตตาล็อกระบบออฟเซท เข้าเล่มแม็กมุงหลังคา

แคตตาล็อกระบบออฟเซท เข้าเล่มแม็กมุงหลังคา

กระดาษแคตตาล็อก นิยมใช้กระดาษอาร์มัน เนื่องจากทำให้แคตตาล็อกสวยงาม ทำให้แคตตาล็อกสินค้าของเราดูดีกว่าสินค้าเจ้าอื่นๆ แต่จะทำให้แคตตาล็อกมีราคาสูงขึ้นด้วย หากแคตตาล็อกนั้น สามารถเก็บไว้ใช้งานได้ยาวนาน การเลือกใช้กระดาษอาร์ตมัน ก็เป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากกระดาษอาร์ตมัน จะมีความหนาและเหนียวกว่ากระดาษธรรมดา หากต้องการประหยัดงบ สามารถเลือกกระดาษปอน ก็สามารถแสดงรายละเอียดได้ครบถ้วน

การเข้าเล่มแคตตาล็อก สำหรับจำนวนหน้าไม่มาก 8-40หน้า จะนิยมเข้าเล่มเย็บแม็กมุงหลังคา พับกลาง โดยงานสำเร็จจะมีขนาดครึ่งหนึ่งของงานปริ้น เช่น งานปริ้นA4 จะได้งานสำเร็จเป็นA5 หากเป็นงานปริ้นA3 จะได้งานสำเร็จเป็นA4 เป็นต้น หากแคตตาล็อกมีจำนวนหน้ามาก 40-400หน้า สามารถเข้าเล่มสันกาวหนังสือได้ โดยปกแคตตาล็อกจะเป็นกระดาษอาร์ตมัน250แกรม งานสำเร็จจะเหมือนหนังสือ นิตยสารทั่วไป

สรุป เราสามารถทำแคตตาล็อก ได้ด้วยตัวเอง เพียง2ขั้นตอน คือ1.ออกแบบไฟล์งานแคตตาล็อก 2.ปริ้นแคตตาล็อก เข้าเล่ม เพียงเท่านี้เราก็ได้แคตตาล็อกสินค้า ตามต้องการ

You may also like...